ประวัติความเป็นมา
สถาบันธนาคารไทย (Thai Banking Academy หรือ TBAC) จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมธนาคารไทย เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากร เพื่อเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ สำหรับบุคลากรในภาคการเงินและการธนาคารที่ได้มาตรฐานสากล
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
---|
TBAC 1.0
2561 - 2564
มุ่งเน้นหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานกลางร่วมกันของอุตสาหกรรม (Principles & Practical Guidelines) ครอบคลุมหลักสูตรทั่วไป และหลักสูตรภาคบังคับ ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่
-
Conduct: หลักสูตรพื้นฐานสำคัญเพื่อยกระดับมาตรฐานจริยธรรม ได้แก่ Market Conduct, Industry Code of Conduct
-
Compliances: หลักสูตรภาคบังคับ ได้แก่ หลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ปปง.: AML/CTPF (แบบ E-learning) และหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน คปภ.: การขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต และประกันวินาศภัย (แบบ Classroom และ Virtual Classroom)
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรข้อควรรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้พนักงานธนาคารได้ทราบและใช้อ้างอิงในการตอบคำถามลูกค้า -
Core Banking Subjects: หลักสูตรพื้นฐานสำคัญ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ PDPA, Retail Lending Series, Commercial Lending Series, Investment Series และ International Trade and FX
-
Digital Literacy: หลักสูตร ปลอดภัยอย่างไรใน Cyber, Digital ID เรื่องใกล้ตัวคุณ
TBAC 2.0
2565 - ปัจจุบัน
ดำเนินการตามแผน 3 ปีของสมาคมธนาคารไทย โดยครอบคลุมด้านต่าง ๆ ดังนี้
-
พัฒนาเนื้อหาบทเรียนที่ต่อยอดจาก TBAC 1.0 ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานสำคัญเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
-
ร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อการขยายขอบเขตหัวข้อหลักสูตร นอกเหนือจากด้านการธนาคาร
-
จัดอบรมหลักสูตรให้กับประชาชนทั่วไป
-
เชื่อมต่อ/ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดอบรมหลักสูตรที่เหมาะสมกับยุคสมัยสำหรับพนักงานธนาคาร
TBAC ให้ความสำคัญเรื่องการธนาคารอย่างยั่งยืน (Sustainable Banking) โดยได้ร่วมมือกับ World Wild Fund for Nature (WWF) และ ASFI ในการนำหลักสูตร Responsible Banking มาให้อบรมบน TBAC Platform และจัดให้มีหลักสูตรด้าน Future Banking Skills โดยดำเนินการร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ